ถึงเวลาที่ต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

ทุกครั้งที่ผมทราบข่าวว่ามีภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น ผู้คนบาดเจ็บเสียชีวิต บ้านเรือนพังเสียหาย ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ประสบภัยต้องเปลี่ยนแปลงไป ผมรู้ว่าเราต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยลดผลกระทบอันน่าสลดใจนี้ แทนที่จะรอให้มันเกิดขึ้นอีก
เรามีโอกาสจะผลักดันเรื่องนี้ในการประชุมนานาชาติเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่จัดขึ้นปีนี้ ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสรุปแนวทางการดำเนินงานกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ ระยะที่ 2 (Hyogo Framework for Action-HFA2) ซึ่งเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติแก่ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับนานาชาติ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่จะตั้งเป้าหมายในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและต่อสู้กับความยากจนอีกด้วย
ภัยพิบัติจากธรรมชาติมีมูลค่าความเสียหายมหาศาล ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 2 ล้าน 5 แสนคน และสร้างความสูญเสียเป็นมูลค่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้การพัฒนาชะงักลง
ในภูมิภาคเอเชีย การพัฒนาเขตเมืองอย่างรวดเร็วผนวกกับการวางผังเมืองยังไม่มีคุณภาพได้เพิ่มความเสี่ยงให้เมืองต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมืองที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งและลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้คร่าชีวิตผู้คนกว่า 7,350 คนในฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2556 แล้วยังส่งผลโดยตรงให้ความยากจนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
- Tags:
- GFDRR
- Urban Development
- Environment
- Disasters
- Climate Change
- East Asia and Pacific
- Vietnam
- Vanuatu
- Tuvalu
- Tonga
- Timor-Leste
- Thailand
- Solomon Islands
- Singapore
- Samoa
- Philippines
- Palau
- Myanmar
- Mongolia
- Micronesia, Federated States of
- Marshall Islands
- Malaysia
- Lao People's Democratic Republic
- Korea, Republic of
- Kiribati
- Japan
- Indonesia
- Fiji
- China
- Cambodia