ทั่วโลกได้ประจักษณ์ถึงการปฏิวัติด้านสารสนเทศและการสื่อสารที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เทคโนโลยีดิจิตอลช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถติดต่อกับญาติมิตรได้ง่ายขึ้น และเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ทั้งเรื่องธุรกิจและการพักผ่อน ดิจิตอลเทคโนโลยีคงจะก้าวต่อไปอย่างไร้ขีดจำกัด
การปฏิวัติด้านสารสนเทศนี้เข้าถึงนับพันล้านคนทั่วโลก และเชื่อมต่อกับคนเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคนอีกมากที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากดิจิตอลเทคโนโลยีนี้ โลกนี้จึงยังมีทั้งคนที่มีและคนที่ไม่มีดิจิตอลเทคโนโลยีเลย
ปัจจุบัน ประชากรโลกร้อยละ 95 สามารถเข้าถึงสัญญาณดิจิตอล เหลืออีกร้อยละ 5 ที่ยังไม่มีโอกาส ประชากรโลกร้อยละ 73 มีมือถือใช้ในขณะที่อีกร้อยละ 27 ยังไม่มี ประชากรร้อยละ 46 ซึ่งเป็นจำนวนเกือบจะครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเข้าถึงอินเตอร์เนต แต่คนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึง และมีเพียงร้อยละ 19 ของคนทั่วโลกเท่านั้นที่เข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นอกจากนี้แล้ว ความแตกต่างในการเข้าถึงยังแบ่งได้หลายมิติ ทั้งตามเพศสภาพ ภูมิศาสตร์ อายุ รายได้ในแต่ละประเทศ
ทำไมเราต้องจัดการให้เกิดการใช้ประโยชน์จากดิจิตอลเทคโนโลยี และเราต้องทำอะไรบ้าง?
เทคโนโลยีสามารถเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ยกตัวอย่าง โทรศํพท์มือถือช่วยให้เข้าถึงบริการธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (ตัวอย่างเช่น M-Pesa ในเคนยา) ซึ่งช่วยให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับโอกาสทางธุรกิจ และสามารถส่งเงินกลับไปเลี้ยงดูครอบครัวและมิตรสหายได้โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยและรวดเร็ว ทุกวันนี้มีบัญชีผู้ที่ทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมากกว่า 300 ล้านบัญชีทั่วโลก หากรัฐบาลไม่อนุญาตให้มีบริการธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ประชาชนก็ไม่สามารถเข้าถึงประโยชน์ของธุรกรรมการเงินนี้ได้
อินเตอร์เนตสามารถส่งเสริมนวัตกรรม อาทิ อินเตอร์เนตได้พัฒนานวัติกรรมอีคอมเมิร์ชและโอกาสทางธุรกิจเช่น ENSOGO ในประเทศไทย หลังจากการลงทุนเบื้องต้นแล้ว ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งมีราคาเกือบจะเท่ากับ “ศูนย์” โดยผู้ขายและผู้ซื้อสามารถปฏิสัมพันธ์กันแบบทันทีทันใด ซึ่งจะนำสู่การเพิ่มการค้าและเพิ่มงาน
ผลกระทบจากดิจิตอลเทคโนโลยีที่มีต่อรายได้และความไม่เท่าเทียมกันคืออะไร? ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตไม่มีโอกาสส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอล ความไม่เทียมกันทางอิเล็กทรอนิกส์สร้างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ หากรัฐมีนโยบายที่ดีโดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาและทักษะที่เข้มแข็ง ดิจิตอลเทคโนโลยีจะมีศักยภาพมากที่จะเพิ่มรายได้ของประชากร นอกจากนี้ การเปลี่ยนเข้าสู่งานที่ใช้ทักษะและเทคโนโลยีสูงจะช่วยลดช่องว่างของค่าจ้างในกลุ่มคนมีศึกษาดีที่กำลังเพิ่มขึ้นสูง ผู้หญิงก็มีโอกาสด้รับผลดีจากการเปลี่ยนผ่านการจ้างงานไปสู่งานที่ไม่ใช่ลักษณะงานประจำวัน และไม่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งเห็นตัวอย่างได้จากประเทศไทย ในขณะเดียวกัน ประชาชนที่ไม่มีการศึกษาและทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการทำงานก็ไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนเป็นระบบอัติโนมัติส่งผลให้มีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นในภาคส่วนที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง (จะจ้างงานคนที่ได้รับการศึกษาดี หรือระดับสูง) ในขณะที่ตำแหน่งงานในสายการผลิตจะลดจำนวนลง (งานที่มีรายได้น้อย และใช้แรงงานที่มีทักษะน้อย) ดังนั้น ไทยและประเทศอื่นๆ ควรสร้างระบบการศึกษาที่มีรากฐานให้นักเรียนพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากงานที่ใช้เทคโนโลยีสูงในอนาคต
รายงานการพัฒนาโลกปี 2016 เรื่องผลตอบแทนทางดิจิตอลโดยธนาคารโลกได้ให้แนวคิดในการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและสร้างความเข้มแข็งให้กับคนทุกคน รายงานได้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญสามลำดับแรกได้แก่
ประการแรก การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ช่วยให้บริษัทสามารถติดต่อและแข่งขันกันอย่างสะดวก ในการนี้ต้องมีการลงทุนเครือข่ายหลักของระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณภาพสูงและสามารถเข้าถึงได้ทั่วทั้งประเทศอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันกฏระเบียบที่มีประสิทธิภาพก็สามารถช่วยอำนวยความสะดวก หรือแม้กระทั่งส่งเสริม การสร้างพื้นที่การทำธุรกรรมการเงินเพื่อดำเนินงานธุรกิจและยังช่วยให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ค่าบริการในราคาถูก
ประการที่สอง การช่วยให้คนงานได้มีทักษะโดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี มิใช่การเปลี่ยนตัวบุคคล ตัวอย่างเช่น หลายประเทศสามารถจัดรวมโครงการคอมพิวเตอร์ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น ประเทศเอสโนเนียและสหราชอาณาจักร ทักษะนี้ยังจะช่วยให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนออนไลน์มากมายหลายหลักสูตร เช่น Coursera.org Udacity.com และ edX.org ที่ได้จัดหลักสูตรออนไลน์ที่ดี ส่งเสริมการอภิปรายออนไลน์ และเข้าถึงการเรียนของนักเรียน
ประการที่สาม การเพิ่มความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐซึ่งจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการรวมระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐต่างๆ โดยใช้งานผ่านระบบเดียวอีกด้วย เราขอยกตัวอย่างโครงการในประเทศอินเดียชื่อ “Digital Identity Program” ซึ่งครอบคลุมประชาชนกว่า 950 ล้านคน โครงการนี้ช่วยให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมถึงโครงการคุ้มครองทางสังคม และ บริการภาครัฐ) ในส่วนของประเทศไทยเองก็ได้ดำเนินโครงการบัตรประชาชน ID Program ที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถให้บริการที่เน้นกลุ่มเป้าหมายที่คนจนผ่านโครงการ Unified Social Protection
หากมีนโยบายและการดำเนินการที่ช่วยระบบการศึกษา สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และ การบริการภาครัฐด้วยระบบดิจิตอลที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานแล้ว อินเตอร์เนตและดิจิตอลเทคโนโลยีก็สามารถเป็นทั้งเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงในด้านบวกที่จะช่วยลดความยากจน แบ่งปันโอกาส และความมั่งคั่งให้กระจายทั่วถึงทั้งประเทศไทย และเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
Join the Conversation