การลดความยากจนและปรับปรุงความเท่าเทียมในประเทศไทย: ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

This page in:
??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ความยากจนและความเสมอภาคยังคงเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างประเทศไทย

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกแปซิฟิก ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดความยากจนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 2560 ประเทศไทยมีอัตราความยากจนสูงที่สุดเพียง 0.03% และจำนวนของคนจนที่รุนแรงที่สุดในขณะนี้มีอยู่เป็นหลักพันคน เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้วอาจมองได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

ในเป็นความจริง ภัยแล้งที่ผ่านมาและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ต่าง ๆ เนื่องจากความยากจนมีการเพิ่มขึ้นในปี 2559 ในช่วงปีที่เกษตรกรรมตกต่ำ ทั้งนี้ ด้วยประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และผลกระทบจากความขัดแย้งในภาคใต้ รวมถึงจำนวนหนึ่งในสามของกำลังแรงงานยังคงใช้ในการเกษตรที่ให้ผลผลิตต่ำ ความยากจนและความเสมอภาคยังคงเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างประเทศไทย

จากการวิเคราะห์เมื่อไม่นานมานี้ของทีมงานของธนาคารโลก ที่ศึกษาในเรื่องความยากจนและความเสมอภาค (World Bank Thailand Poverty and Equity team) เราได้รวบรวมสถิติเจ็ดประการได้ทันเวลา สำหรับวันแห่งการสิ้นสุดความยากจนปี 2562 (End Poverty Day 2019) ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญกับการลดความยากจน

1. เกณฑ์ความยากจนระดับนานาชาติ $1.90 ต่อวัน สามารถแปลงเป็น 26 บาท ต่อคนต่อวัน โดยประมาณ

ในปี 2560 อัตราความยากจนอย่างรุนแรงในประเทศไทยซึ่งอ้างอิงจากเส้นแบ่งความยากจนนานาชาติ (International Poverty Line) มีอัตราอยู่ที่ 0.03% หากแปลงค่าความยากจนนานาชาติเป็นเงินบาท อัตราดังกล่าวจะต่ำมากที่ประมาณ 26 บาทต่อคนต่อวันซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ที่คนไทยจำนวนมากจะมีใช้อย่างเพียงพอสำหรับชีวิตที่ยอมรับได้ การตรวจสอบความยากจนในระดับความยากจนที่สูงขึ้นนั้นมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อประเทศต่าง ๆ ร่ำรวยขึ้น เส้นความยากจนที่ต่ำเกินไปอาจนำไปสู่การประเมินที่ไม่ถูกต้องของความสามารถของแต่ละบุคคลในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าใช้ upper-middle income poverty line ที่ $5.50 ต่อวัน ความยากจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 8% ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการของประเทศไทย

2. อัตราความยากจนของประเทศเพิ่มขึ้นในปี 2559 เป็นครั้งที่สี่นับตั้งแต่ปี 2531

ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 (2523) เมื่อสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เริ่มเผยแพร่อัตราความยากจนระดับชาติ อัตราความยากจนอย่างเป็นทางการที่คำนวณโดยรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นเพียงสี่ครั้งเท่านั้น ซึ่งสามกรณีจากการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน (2541 2543 และ 2551) การเพิ่มขึ้นของความยากจนครั้งที่สี่และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2559 การเพิ่มขึ้นของความยากจนในปี 2558 – 2559 นั้นมีขนาดเล็กประมาณร้อยละ 1.5 ตามการประมาณการของรัฐบาลไทยและระดับความยากจนรายได้ปานกลาง (upper-middle income poverty line) ทั้งนี้ ในขณะที่การเพิ่มขึ้นมีเพียงเล็กน้อยในระดับประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่าตามภูมิภาคต่าง ๆ (โปรดดู # 3 และ # 4 ด้านล่าง)

Image
2.	Thailand’s national poverty rate increased in 2016, the fourth time since 1988.

3. การเติบโตของประชากรชนชั้นล่าง 40% ติดลบจากปี 2558 – 2560 และไม่สม่ำเสมอทั่วภูมิภาค

โดยเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของความยากจนประชากร ประชากรชนชั้นล่าง 40% เห็นการบริโภคเฉลี่ยของครัวเรือนและรายได้ลดลงจากปี 2558 – 2560

การเติบโตในภูมิภาคนั้นไม่เท่ากัน กรุงเทพฯ และภาคกลางมักจะมีการเติบโตสูงสุด และความแตกต่างระหว่างภูมิภาคอื่น ๆ อาจมีมาก จากปี 2554 – 2556 การเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 3.8% ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ กรุงเทพมหานครมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงกว่า 10% ต่อปี ในขณะที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีอัตราการเติบโตต่ำกว่า 5%

ระหว่างปี 2558 – 2560 ประเทศไทยมีการเติบโตที่ช้ากว่ามาก ในขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงมีอยู่ การเติบโตของรายได้เกือบเป็นศูนย์ การลดลงของราคาสินค้าเกษตรและผลกระทบทางลบต่อเกษตรกรนั้นคาดว่าจะลดลง แม้ว่ารายได้ภาคครัวเรือนจะลดลงในภูมิภาคอื่นเช่นกัน

Image
The growth of the bottom 40% was negative from 2015-2017 and uneven across regions

4. ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของความยากจนในระดับประเทศมีจำนวนไม่มาก ความยากจนกลับเพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค

จากมาตรการของทางการ อัตราความยากจนนั้นสูงที่สุดในภาคใต้ ระหว่างปี 2558 – 2560  ความยากจนก็เพิ่มขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคนี้โดยคำนวณเป็นอัตราคะแนนร้อยละ (percentage point term) อัตราความยากจนอย่างเป็นทางการคือ 9.9% ในปี 2558 และ 11.8% ในปี 2560 ในภาคใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 คะแนน
 

Image
While the increase in national poverty was small, increases were higher in some regions

5. สองจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในภาคใต้

ในขณะที่ครัวเรือนที่ยากจนมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาคเกษตร รูปแบบของคนจนไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว การแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทยจะหมายถึงการมุ่งเน้นไปที่ชนกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ล้าหลัง ในพื้นที่ภูเขาและชายแดนต่าง ๆ อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งและความเปราะบาง ทั้งนี้ สองจังหวัดที่ยากจนที่สุดคือ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส โดยมีอัตราความยากจน 34.2% และ 34.17% ตามลำดับ

Image
The two poorest provinces in Thailand are in conflict-affected areas in the Southern region.

6. กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่สามารถลดความยากจนได้เร็วที่สุด

กรุงเทพมหานครสามารถการลดอัตราความยากจนที่เร็วที่สุด ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงของการลดความยากจนในกรุงเทพ ประมาณ 10% ต่อปี เป็นประจำทุกปี อัตราความยากจนอย่างเป็นทางการลดลงจาก 24.7% ในปี 2531 เป็น 1.1% ในปี 2560 ภาคกลางมีอัตราการลดความยากจนที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสอง โดยทั่วไปแล้วระดับการพัฒนาและอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นจะเห็นได้ในเขตกรุงเทพฯ และภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตและบริการที่มีมูลค่าสูงของประเทศ
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ประสบปัญหาการลดความยากจนที่ช้าที่สุด ภูมิภาคเหล่านี้มีความยากจน เปราะบาง มีความหลากหลายน้อยกว่า และพึ่งพาการเกษตรมากกว่า ภูมิภาคการเกษตรมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และภัยธรรมชาติ รวมถึงภัยแล้งและน้ำท่วม

Image
The pace of poverty reduction has been the fastest in Bangkok

7. การรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการครองชีพในประเทศไทยแย่ลง สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความยากจนในปัจจุบัน

เริ่มต้นในปี 2559 มีการรับรู้ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ลดลงในแบบสำรวจของ Gallup World Poll การรับรู้แย่ลงในบางคำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ทางการเงิน มาตรฐานการครองชีพ และรายได้ ตัวอย่างเช่น เริ่มตั้งแต่ปี 2559 ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากเริ่มระบุว่า พวกเขาไม่มีเงินพอสำหรับอาหารหรือที่พักพิงอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีก่อนหน้านี้

Image
Perceptions about living standards in Thailand worsened

สถิติทั้งเจ็ดประการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังมีความท้าทายและความยากจนที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซึ่งเกือบจะสามารถกำจัดความยากจนอย่างรุนแรงได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการลดความยากจนได้ชะลอตัวลงและไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งประเทศ โปรดคอยติดตามเพิ่มเติมในรายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับความยากจนในประเทศไทยที่จะเผยแพร่ในปี 2563


Authors

Join the Conversation

The content of this field is kept private and will not be shown publicly
Remaining characters: 1000