สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเปลี่ยนสังคม: ตัวอย่างจากประเทศไทย

This page in:
Image การรณรงค์เพื่อสงวนมักกะสันไม่ให้เป็นห้างใหญ่ได้รวมพลังชุมชนทั้งในออนไลน์ และ ออฟไลน์ ภาพถ่ายโดย เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์

ในฐานะบรรณาธิการเว็บไซต์และผู้มีความกระตือรือร้นในเรื่องสื่อออนไลน์ ฉันเห็นเนื้อหามาทุกประเภท ตั้งแต่ภาพถ่ายใกล้ๆ ของข้าวเที่ยงของใครบางคน วีดิโอแมวร้องเพลง และภาพถ่ายตัวเองจากกล้องโทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ

เนื้อหาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้ไหม? ถ้าหาก เนื้อหาเหล่านี้จะมีสาระและให้แรงบันดาลใจมากกว่านี้ จะทำให้มันมีประสิทธิภาพในการนำไปสู่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ไหม? ในขณะที่เนื้อหาก็เป็นสิ่งสำคัญ ฉันกลับคิดว่า พลังที่แท้จริงของสื่อสังคมออนไลน์คือ ความสามารถในการรวมพลังชุมชน นั่นคือ การเปลี่ยนโลกจะเกิดขึ้นได้จริงๆ เมื่อชุมชนที่รวมตัวกันจากสื่อสังคมนำสิ่งเหล่านั้นออกไปสู่โลกจริงๆ และลงมือทำ

เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันได้มีส่วนร่วมในงาน #WBSync.Lab  ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน (ออฟไลน์) ของเหล่าผู้ที่ทำงาน เป็นอาสาสมัคร หรือสนใจ ในองค์กรที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ในภาพรวม ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 25 ล้านคน และมีผู้ใช้สื่อสังคม 18 ล้านคน มันจึงเต็มไปด้วยศักยภาพที่จะทำการณรงค์ออนไลน์ และทำให้ชุมชนออนไลน์เติบโต

เรื่องเหล่านี้คือความสำเร็จบางส่วน ของการริเริ่มในประเทศไทยที่เราได้คุยกันในเย็นวันนั้น:

ประเทศไทยอยู่ตรงไหน? คือกลุ่มที่นำข้อมูลดิบมาแปลงเป็นอินโฟกราฟฟิกเพื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่น ประเทศไทยอยู่ตรงไหนได้ย่อยข้อมูลหลายหน้าจากรายงานของธนาคารโลกเกี่ยวกับรายจ่ายสาธารณะในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยมาเป็นอินโฟกราฟฟิกที่มีพลังในภาษาไทย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นที่น่าสนใจกว่าหลายร้อยความเห็น และอินโฟกราฟฟิกนี้ก็ถูกแบ่งปันไปกว่า 2,237 ครั้ง คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความริเริ่มบนสื่อสังคม/สื่อออนไลน์ของธนาคารโลกได้จากงานนำเสนอโดย จิม โรเซนเบิร์ก ซึ่งเพื่อนร่วมงานของฉัน

ตุลย์ ปิ่นแก้ว คือ ผู้อำนวยการ Change.org ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการรณรงค์ออนไลน์ระดับโลก Change.org  ตุลย์เล่าถึงการรณรงค์เปลี่ยนฝาท่อตะแกรงบนถนน ที่ นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ผู้มีใจรักในการขี่จักรยานเริ่มต้นขึ้น การรณรงค์ดังกล่าวเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครเปลี่ยนฝาท่อตะแกรงจากแบบเดิมที่เป็นอันตรายต่อผู้ขี่จักรยานและคนเดิมถนน เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์หลังจากการเริ่มการณรงค์บน change.org ก็มีคนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนการรณรงค์นี้กว่า 1,500 คน จนทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รับปากอย่างเป็นทางการว่า จะเปลี่ยนฝาท่อทั่วกรุงเทพฯ

อีกการณรงค์หนึ่งที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันคือ การณรงค์เพื่อพื้นที่เขียว ริเริ่มโดยเว็บดีไซเนอร์/กราฟฟิกดีไซเนอร์ จตุพร ตันศิริมาศ และ ปุณลาภ ปุณโณทก ผู้ที่ไม่ต้องการให้พื้นที่ 700 ไร่ของมักกะสันกลายเป็นห้างขนาดใหญ่ไปอีก พวกเขาคิดว่า คงจะดีกว่า ถ้าพื้นที่ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่เขียวเพื่อให้ทุกคนมาพักผ่อนหย่อนใจ การรณรงค์ออนไลน์นี้สามารถรวบรวมผู้ลงนามได้กว่า 23,000 รายชื่อ และยังมีคอนเสิร์ตเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ที่มีคนเข้าร่วมหลายพันคน และในที่สุด กรุงเทพมหานครก็ได้รับปากที่จะทบทวนสถานการณ์

ฉันถามตุลย์ถึงอัตราความสำเร็จของการรณรงค์ออนไลน์ ตุลย์กล่าวว่า จากข้อเรียกร้องกว่าครึ่งล้านเรื่องที่ถูกสร้างขึ้น มีเพียงไม่กี่พันที่ประสบความสำเร็จ

 “การรณรงค์ที่จะได้ผลสูง และสามารถโน้มน้าว สร้างความใส่ใจ และเพิ่มจำนวนผู้สนับสนุนหน้าใหม่ได้ คือการรณรงค์ที่สามารเล่าถึงปัญหาในเรื่องราวแบบใกล้ตัว เพราะมันจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำเข้าอย่างจัง” เขากล่าว “การรณรงค์แต่ละเรื่องนั้นมาจากคนธรรมดาทั่วไป สะท้อนให้เห็นสิ่งที่คนทั่วๆ ไปในสังคมอยากให้เปลี่ยนแปลง เป็นผลให้เกิดการตอบรับและการมีส่วนร่วมในวงกว้างจากสาธารณะ ยิ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน จนทำให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจละเลยไปได้ยาก”

พลเมืองเน็ตคนหนึ่งได้ตั้งประเด็นว่า การรณรงค์เหล่านี้เป็นไปเพื่อคนในเมืองเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะจริงในเฉพาะตอนนี้ แต่เราก็ควรคำนึงด้วยว่า สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตก็มีราคาถูกลงเรื่อยๆ ซึ่งเปิดพื้นที่ให้คนมามีส่วนร่วมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ชาวนาในฟิลิปปินส์รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกข้าวผ่านโทรศัพท์มือถือ

แล้วสำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงสื่อสังคมออนไลน์จะทำอย่างไร? ฉันคิดว่า พวกเราควรจะตระหนักว่า สื่อสังคมไม่ใช่ผงพิเศษ มันเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่มีให้เราเลือกใช้ ยังมีวิธีการสื่อสารอีกมากมายเพื่อเข้าถึงชุมชนชนบทอันห่างไกลที่สังคมออนไลน์ไม่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ เช่น รายการวิทยุ และ การประชุมที่ศาลาว่าการของชุมชน เป็นต้น

คุณเคยมีส่วนร่วมในสื่อสังคมหรือสื่อออนไลน์สำหรับการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง? การรณรงค์ออนไลน์แบบใดที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ของคุณ?


Join the Conversation

The content of this field is kept private and will not be shown publicly
Remaining characters: 1000