Available in english
ประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลในอาเซียนและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม จาก รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2556 (Corporate Governance Report on Standards and Codes – ROSC) ที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ไปนั้นพบว่า ยังคงมีความท้าทายสำคัญๆ อีกหลายประการ
จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในการส่งเสริมบรรษัทภิบาลขึ้น โดยทั้งหน่วยงานที่กำกับดูแลและภาคเอกชนในประเทศไทยได้ตอบรับนำหลักบรรษัทภิบาลไปใช้ และยังคงมุ่งมั่นในหลักการดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา ธนาคารโลกก็ได้เข้าไปมีบทบาทด้วย เช่น การให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยขึ้นในปี 2545 และการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2548 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อรองรับกระแสใหม่ในการปฏิรูป ในภาพรวมนั้น นี่คือความก้าวหน้าที่น่าประทับใจตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2556 ซึ่งใช้หลักการประเมินการกำกับดูแลกิจการบรรษัทภิบาลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ยืนยันว่า ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมายืนอยู่ในฐานะผู้นำด้านบรรษัทภิบาลของภูมิภาค โดยมีกรอบการดำเนินงานที่ค่อนข้างครอบคลุม และสามารถบรรลุเป้าหมายในระดับสูงได้ในประเด็นหลักๆ หลายประการ การจัดอันดับในรายงานฉบับนี่ยังแสดงให้เห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลในภาพรวมของประเทศไทยได้คะแนนถึง 87 จาก 100 คะแนน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดประเทศหนึ่ง จากที่มีการบันทึกไว้ในโครงการการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาล รายงานประจำปีของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยยังไม่เพียงครอบคลุมรายงานด้านการเงิน แต่ยังนำเสนอข้อมูลอื่นๆ ที่หลากหลาย ซึ่งไม่สามารถพบได้บ่อยนักในรายงานประจำปีของบริษัทในประเทศอื่นๆ อาทิ รายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนของคณะกรรมการบริหารบริษัทแต่ละคนและของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตลอดจนแถลงการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมมากกว่า “ข้อความมาตรฐาน” ของบริษัททั่วๆ ไป ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทยังถูกนำเสนอทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยจากหลากหลายแหล่งข้อมูล และในทำนองเดียวกัน ประเทศไทยยังมีกรอบการดำเนินงานด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เข้มแข็งเพื่อคุ้มครองนักลงทุน รวมไปถึงวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งของวิชาชีพคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการบริหารของบริษัทจดทะเบียนมีการนำเอาวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศที่พบในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มาปฏิบัติ
บรรษัทภิบาลไม่ใช่คำตอบสุดท้าย และประเทศไทยได้ดำเนินการด้านบรรษัทภิบาลควบคู่ไปกับตลาดทุนที่แข็งแกร่ง ผลการดำเนินการที่ดี ตลอดจนความมั่นคงทางการเงิน มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 500 บริษัท และมาตรการต่างๆ ในตลาดทุนที่ลึกซึ้งและกว้างไกลยังส่งผลให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปกว่าประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หลายๆ ประเทศ รวมทั้งกลุ่มประเทศ BRICS เช่นบราซิลและจีนด้วย นอกจากนี้ ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำที่ผ่านมา ธนาคารและบริษัทของไทยยังประสบปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ประสบกับปัญหาที่รุนแรงกว่า
อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยยังคงต้องการเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลต่อไป รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลก็พบว่า มีหลายประเด็นที่ยังคงถือเป็นความท้าทายของประเทศ อาทิ ความแตกต่างระหว่างบริษัทเอกชนกับรัฐวิสาหกิจที่ยังคงมีช่องว่างอยู่มากและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่บางแห่งในตลาดหลักทรัพย์ที่มีบทบาทสำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเงินของประเทศ กระทรวงต้นสังกัดยังแสดงหลายบทบาท เช่น บทบาทเจ้าของกิจการในทางพฤตินัย บทบาทผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านกฏข้อบังคับ และบทบาทผู้กำหนดนโยบาย นอกจากนี้ อีกความท้าทายหนึ่ง คือ การเปิดเผยเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง นั่นหมายถึงความเข้าใจว่าใครเป็นผู้ควบคุมบริษัทที่แท้จริง ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็นสิ่งท้าทายซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามข้อตกลงของผู้ถือหุ้นที่เป็นความลับ และโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินการผ่านหน่วยงานที่ตั้งอยู่นอกประเทศ ข้อด้อยในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้ลดความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายต่างๆ ที่ประเทศไทยที่บังคับใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย และยังทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกด้วย
ประเด็นอื่นๆ ที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ครอบคลุมถึง
ประเทศไทยถือเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลในอาเซียนและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม จาก รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2556 (Corporate Governance Report on Standards and Codes – ROSC) ที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ไปนั้นพบว่า ยังคงมีความท้าทายสำคัญๆ อีกหลายประการ
จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในการส่งเสริมบรรษัทภิบาลขึ้น โดยทั้งหน่วยงานที่กำกับดูแลและภาคเอกชนในประเทศไทยได้ตอบรับนำหลักบรรษัทภิบาลไปใช้ และยังคงมุ่งมั่นในหลักการดังกล่าวตั้งแต่นั้นมา ธนาคารโลกก็ได้เข้าไปมีบทบาทด้วย เช่น การให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยขึ้นในปี 2545 และการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2548 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อรองรับกระแสใหม่ในการปฏิรูป ในภาพรวมนั้น นี่คือความก้าวหน้าที่น่าประทับใจตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลปี 2556 ซึ่งใช้หลักการประเมินการกำกับดูแลกิจการบรรษัทภิบาลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ยืนยันว่า ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมายืนอยู่ในฐานะผู้นำด้านบรรษัทภิบาลของภูมิภาค โดยมีกรอบการดำเนินงานที่ค่อนข้างครอบคลุม และสามารถบรรลุเป้าหมายในระดับสูงได้ในประเด็นหลักๆ หลายประการ การจัดอันดับในรายงานฉบับนี่ยังแสดงให้เห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลในภาพรวมของประเทศไทยได้คะแนนถึง 87 จาก 100 คะแนน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดประเทศหนึ่ง จากที่มีการบันทึกไว้ในโครงการการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาล รายงานประจำปีของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยยังไม่เพียงครอบคลุมรายงานด้านการเงิน แต่ยังนำเสนอข้อมูลอื่นๆ ที่หลากหลาย ซึ่งไม่สามารถพบได้บ่อยนักในรายงานประจำปีของบริษัทในประเทศอื่นๆ อาทิ รายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนของคณะกรรมการบริหารบริษัทแต่ละคนและของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตลอดจนแถลงการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมมากกว่า “ข้อความมาตรฐาน” ของบริษัททั่วๆ ไป ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทยังถูกนำเสนอทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยจากหลากหลายแหล่งข้อมูล และในทำนองเดียวกัน ประเทศไทยยังมีกรอบการดำเนินงานด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เข้มแข็งเพื่อคุ้มครองนักลงทุน รวมไปถึงวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งของวิชาชีพคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการบริหารของบริษัทจดทะเบียนมีการนำเอาวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศที่พบในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มาปฏิบัติ
บรรษัทภิบาลไม่ใช่คำตอบสุดท้าย และประเทศไทยได้ดำเนินการด้านบรรษัทภิบาลควบคู่ไปกับตลาดทุนที่แข็งแกร่ง ผลการดำเนินการที่ดี ตลอดจนความมั่นคงทางการเงิน มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 500 บริษัท และมาตรการต่างๆ ในตลาดทุนที่ลึกซึ้งและกว้างไกลยังส่งผลให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปกว่าประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หลายๆ ประเทศ รวมทั้งกลุ่มประเทศ BRICS เช่นบราซิลและจีนด้วย นอกจากนี้ ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำที่ผ่านมา ธนาคารและบริษัทของไทยยังประสบปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ประสบกับปัญหาที่รุนแรงกว่า
อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยยังคงต้องการเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลต่อไป รายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลก็พบว่า มีหลายประเด็นที่ยังคงถือเป็นความท้าทายของประเทศ อาทิ ความแตกต่างระหว่างบริษัทเอกชนกับรัฐวิสาหกิจที่ยังคงมีช่องว่างอยู่มากและเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่บางแห่งในตลาดหลักทรัพย์ที่มีบทบาทสำคัญในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเงินของประเทศ กระทรวงต้นสังกัดยังแสดงหลายบทบาท เช่น บทบาทเจ้าของกิจการในทางพฤตินัย บทบาทผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านกฏข้อบังคับ และบทบาทผู้กำหนดนโยบาย นอกจากนี้ อีกความท้าทายหนึ่ง คือ การเปิดเผยเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง นั่นหมายถึงความเข้าใจว่าใครเป็นผู้ควบคุมบริษัทที่แท้จริง ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็นสิ่งท้าทายซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามข้อตกลงของผู้ถือหุ้นที่เป็นความลับ และโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินการผ่านหน่วยงานที่ตั้งอยู่นอกประเทศ ข้อด้อยในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้ลดความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายต่างๆ ที่ประเทศไทยที่บังคับใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย และยังทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกด้วย
ประเด็นอื่นๆ ที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ครอบคลุมถึง
- การยกระดับธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจและปรับปรุงบทบาทภาครัฐในฐานะเจ้าของให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การส่งเสริมความเป็นอิสระและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงการแยกตัวให้เป็นอิสระจากกระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการ
- การปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อผู้เล่นในตลาด
- การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการเพิ่มบทบาทของ กลต ในเรื่องดังกล่าว
- การมีมาตรการให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีตามมาตรฐานสากล (International Financial Reporting Standards - IFRS) อย่างเต็มรูปแบบและเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน รวมทั้งข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน
- การกำหนดแนวทางให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีและการดำเนินงานของตัวกลางในตลาดทุนและการเสริมสร้างให้คณะกรรมการบริษัทมีความเป็นอิสระ
- การดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความเป็นอิสระและประสิทธิผลของคณะกรรมการบริหาร รวมถึงการให้อำนาจคณะกรรมการบริหารในการเลือกกรรมการผู้จัดการใหญ่
Join the Conversation