#IDPD 2564: ภาวะทุพพลภาพทางจิตสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

This page in:
???????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ??????????????????????? ??????????????????????? ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? การให้ความช่วยเหลือทางจิตสังคมเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ให้การสนับสนุนด้านจิตสังคมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางภาคใต้ของประเทศไทย

การให้ความช่วยเหลือทางจิตสังคมเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ หากเรามีเยาวชนรุ่นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและความรุนแรงโดยปราศจากการดูแลหรือความสนใจตามที่ควร การที่เขาไม่อาจเข้าถึงบริการช่วยเหลือ ทั้งยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งและความรุนแรง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะลดทอนทุนมนุษย์ และยังเป็นการกัดกร่อนสิทธิของเด็ก ๆ ที่ควรจะต้องเติบโตขึ้นพร้อมโอกาสพัฒนาตนจนเต็มศักยภาพ เนื่องในวันคนพิการสากล ปี พ.ศ. 2564 นี้ เราจึงอยากชี้ถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือทางจิตสังคมว่าเป็นองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนสู่โลกที่ทุกคนมีส่วนร่วม สามารถเข้าถึงได้ และมีความยั่งยืนหลังยุคการแพร่ระบาดของโควิด 19

ในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอันได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และเขตพื้นที่สี่อำเภอของจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งภายในประเทศที่ยืดเยื้อ อาณาบริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปัตตานี อาณาจักรมลายูอิสระ ต่อมา ดินแดนส่วนใหญ่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2452 และตั้งแต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ประชากรชาวมุสลิมลายูแต่เดิม ซึ่งปัจจุบันนี้คิดเป็นร้อยละ 75 ของประชากรในพื้นที่รู้สึกถูกกีดกัดทางเศรษฐกิจและสังคม เลือกปฏิบัติ และผลักให้เป็นคนชายขอบ ก่อเป็นความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค

แม้ประชากรจังหวัดชายแดนใต้จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.6 ของประชากรทั้งประเทศ ทว่าสัดส่วนกลุ่มคนยากจนคิดเป็นถึงร้อยละ 7.8 (ประมาณ 570,000 คน) เมื่อปี พ.ศ. 2560 จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส สองจังหวัดจากสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตราความยากจนสูงเป็นอันดับหนึ่งที่ร้อยละ 34.2 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดกว่า 7,000 คน และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 13,000 ราย และประชากรอย่างน้อยสองรุ่นต้องประสบกับปัญหาความขัดแย้ง ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรจำนวนมากที่ ณ ขณะนั้นยังเป็นเด็ก ในวันนี้เขาเหล่านั้นต่างก็เติบโตขึ้นมาสร้างครอบครัวโดยในใจยังคงมีบาดแผลตกค้าง สิ่งเหล่านี้มักจะส่งผลต่อการเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สุขภาพที่ย่ำแย่ และความเป็นอยู่ที่ทุกข์ยาก

นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาล ประชาชน ชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาในพื้นที่ประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ความช่วยเหลือนี้มีตั้งแต่โครงการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ขัดแย้งด้วยแนวทางการขับเคลื่อนโดยชุมชน การให้เงินทุนดำเนินโครงการขนาดเล็กต่าง ๆ แก่องค์การภาคประชาสังคม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (State and Peace-Building Fund) กองทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและสร้างสันติภาพโดยรัฐบาลเกาหลี (Korea Trust Fund for Economic and Peace-Building Transitions) และเมื่อไม่นานมานี้ยังได้มีการสนับสนุนจากกองทุนสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วม (Human Rights, Inclusion, and Empowerment Trust Fund)  

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการจะสามารถช่วยประสานบุคคลที่มีบาดแผลทางใจเนื่องจากความขัดแย้ง รวมถึงกลุ่มที่มีความเปราะบางมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้หญิง และผู้สูงอายุ โครงการนี้จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปกป้องดูแลและสร้างความเข้มแข็งของบุคลากร และให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ อันรวมถึงผู้สูญเสียสามี-ภรรยาหรือเด็กที่สูญเสียบุพการี

เราตระหนักดีว่าความขัดแย้งที่ยังคุกกรุ่นสร้างข้อจำกัดด้านการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน และความไว้วางใจตัวบุคคลหรือองค์กรที่จะเข้ารับบริการหรือความช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนจำนวนมากอาจตัดสินใจไม่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐเนื่องจากขาดความไว้วางใจ ในทางกลับกัน เจ้าหน้าที่รัฐเองก็อาจจะไม่กล้าเยี่ยมบ้านเรือนประชาชนในบางพื้นที่เนื่องจากมีความกังวลด้านความปลอดภัย สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งเนื่องจากความกังวลเรื่องความรุนแรงและความปลอดภัย รวมทั้งความกลัวว่าจะถูกตีตราหรือป้ายสีว่า “บ้า” หากต้องการจะเข้ารับความช่วยเหลือด้านจิตสังคม

ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตสังคมแก่ผู้ที่เคยร่วมต่อสู้ในความขัดแย้งหรืออดีตผู้ถูกกุมขังในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องด้านการกลับคืนสู่เศรษฐกิจและสังคม คนกลุ่มนี้รวมทั้ง ครอบครัวและชุมชนของเขาล้วนประสบความรุนแรงและความทุกข์เข็ญอันซับซ้อน แต่ความช่วยเหลือด้านจิตสังคมหลังประสบกับความขัดแย้งกลับไม่มีการผนวกรวมเข้ากับบริการสาธารณะ จึงทำให้เป็นข้อกังวลอย่างยิ่งทั้งในประเด็นความจำเป็นของความช่วยเหลือนี้ และการส่งผลต่อการสร้างสันติภาพ

บาดแผลทางใจที่เรื้อรังส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน ความปรองดองของสังคมในชุมชน และผลิตภาพทางเศรษฐกิจของบุคคลนั้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเกิดวัฏจักรความรุนแรงซ้ำๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งแถบพื้นที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยย่อมมีความเสี่ยงนี้ โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลและประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เราตระหนักว่าบาดแผลทางจิตสังคมถือเป็นภาวะทุพพลภาพอย่างหนึ่ง ที่อาจเป็นอาการที่มองไม่เห็น แต่ปรากฏในรูปปัญหาสุขภาพกายหรือจิตใจที่อาจทำให้ไม่อาจดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างเป็นปกติ หากปราศจากการจัดการที่ดี

ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วม (Human Rights, Inclusion and Empowerment Trust Fund) เราหวังว่าจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างรากฐานการให้ความช่วยเหลือทางจิตสังคมในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยร่วมมือกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อออกแบบหลักสูตรเชิงมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการดูแลความเจ็บป่วยด้านจิตสังคมที่เน้นการดูแลเด็กและชุมชนที่มีบาดแผลทางใจ และมีการดำเนินการศึกษาประเมินความต้องการในพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการ

นอกจากนี้ยังได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ความขัดแย้ง ศาสนา และสิทธิมนุษยชนเพื่อกำหนดทิศทางของกระบวนการการทำงานโดยรวม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างเครือข่ายเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ทำงานแนวหน้าจากภาคประชาสังคมที่ผ่านการฝึกอบรม ให้สามารถดูแลเด็ก  ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่เปราะบางในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้านประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบาดแผลทางใจ โดยหลักสูตรอบรมจะมีทั้งภาษาไทยและภาษายาวี

หลังจากโครงการดำเนินการไปเป็นเวลาสองปี จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ความสำเร็จโครงการ ด้วยการวัดระดับความตระหนักถึงความสำคัญในการผนวกการให้การดูแลทางด้านจิตสังคมแก่กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริการสาธารณะ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเป้าประสงค์ของโครงการคือการตระหนักและส่งเสริมปัจจัยโอกาสในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในภาคใต้ของประเทศไทย   


Authors

Pamornrat Tansanguanwong

Senior Social Development Specialist

Join the Conversation

The content of this field is kept private and will not be shown publicly
Remaining characters: 1000