ความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion) คือ วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาที่สังคมปราถนา เป็นรากฐานของการกระจายความมั่งคั่ง และการมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาความยากจน
—ความครอบคลุมมีความสำคัญ: รากฐานของการแบ่งปันความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง โดย ธนาคารโลก
ขณะที่เราฉลองนวัขันติธรรมโลก (International Day for Tolerance) กันในเดือนพฤศจิกายนทีผ่านมา เราอย่าลืมว่าการเปิดรับความหลากหลายนับเป็นก้าวแรกบนเส้นทางสู่ความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion) และเราไม่ควรเพียงแค่เปิดใจรับต่อความหลากหลายเท่านั้น แต่เราควรเปิดแขนโอบรับและชื่นชมต่อความหลากหลายเหล่านั้นด้วย
ในขณะที่เลสเบี้ยนหรือหญิงรักหญิง (lesbian) เกย์หรือชายรักชาย (gay) ไบเซ็กชวลหรือคนรักสองเพศ (bisexual) คนข้ามเพศ (transgender) และคนสองเพศ (Intersex) ซึ่งเรียกรวมกันว่ากลุ่ม LGBTI นั้นถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการงาน บริการ และพื้นที่ต่างๆ ในประเทศทั่วโลก แม้กลุ่มคนกลุ่มนี้จะได้รับการยอมรับในบางประเทศ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกันทางสังคม ถูกใช้ความรุนแรง และมีความเปราะบางในด้านอื่นๆ อยู่มาก สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาเสียศักดิ์ศรี และขาดโอกาสที่จะทำให้มีชีวิตดีขึ้น
ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาในแต่ละภูมิภาค มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม มีธรรมชาติที่งดงาม มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน และ มีแนวทางประเพณีและวิถีที่หลากหลาย ในสายตาของชาวต่างชาติแล้ว ประเทศไทยที่ถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งรอยยิ้ม” นั้นเป็นสวรรค์อันสงบสุข ที่ซึ่งจะสามารถพบเห็นวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ หรือการแสดงออกทางเพศที่หลากหลายได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีการเรียกร้องและสนับสนุนอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจนมากขึ้นในประเทศไทย แต่กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางวิถีเพศ อัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศเหล่านี้ก็ยังคงประสบกับปัญหาเรื่องความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion) ในระดับแตกต่างกัน
สองการสำรวจเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์ของกลุ่ม LGBTI ในประเทศไทย
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมสำรวจที่ประจำอยู่ที่ธนาคารโลก กรุงวอชิงตันดีซี และสำนักงานกรุงเทพฯ ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อให้เข้าใจคนกลุ่ม LGBTI ในประเทศไทยว่าอาจถูกเลือกปฏิบัติและกีดกันออกจากการเข้าถึงสินค้าและบริการทั้งด้านการเงินและเศรษฐกิจอย่างไรบ้างให้มากขึ้น
จากการประชุมปรึกษาหารือกับองค์กรผู้นำกลุ่ม LGBTI จำนวน 6 องค์กรใน 4 จังหวัด (กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต) ทีมวิจัยได้พัฒนาแบบสำรวจนำร่องเชิงปริมาณออนไลน์ขึ้นมาสองชุด ชุดแรกใช้กับคนไทยที่อยู่ในกลุ่ม LGBTI และอีกชุดหนึ่งใช้กับคนไทยทั่วไป แบบสำรวจทั้งสองชุดเป็นการพยายามแสวงหาคำตอบในเรื่องจากการเข้าถึงการประกัน การศึกษา ตลาดแรงงาน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และบริการของภาครัฐ นอกจากนี้ในขณะที่ทำการสำรวกลุ่ม LGBTI นั้นก็ได้ค้นหารายละเอียดจากประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติเพิ่มเติม ส่วนการสำรวจคนทั่วไปนั้นเน้นเรื่องทัศนคติและการรับรู้เข้าใจของคนทั่วๆ ไป นอกเหนือจากประสบการณ์ของพวกเขาในเรื่องระดับการเลือกปฏิบัติ (discrimination) และการถูกกีดกันทางสังคม (social exclusion) ของกลุ่ม LGBTI
เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทดสอบนำร่องครั้งนี้?
ในขณะที่ทีมสำรวจได้รู้ว่าอัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศมีความซับซ้อนและมีมากมายหลายประเภท การทดสอบนำร่องในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดความรู้มากมายเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับกลุ่ม LGBTI ในประเทศไทย อาทิ
- ผู้หญิงข้ามเพศมี 4 ประเภทตามการแสดงออกทางเพศที่หลากหลาย (กระเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิงข้ามเพศ)
- มีผู้หญิงที่เป็นเลสเบี้ยนชาย (ทอม) และเลสเบี้ยนหญิง (เลส) ผู้หญิงรักผู้หญิง (หญิงรักหญิง) และเลสเบี้ยนหญิงที่ดึงดูดความสนใจทอม (ดี้)
- มีผู้ชายที่เป็นเกย์ (เกย์) ผู้ชายที่รักผู้ชาย (ชายรักชาย) และผู้ชายข้ามเพศ (transman); และท้ายสุดแต่ยังไม่สุดท้าย
- มีผู้ชายและผู้หญิงที่ชอบคนได้ทั้ง 2 เพศ (Bisex) และมีคนที่มีสองเพศอยู่ในร่างเดียว
การสำรวจทางออนไลน์ทั้งสองชุดเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในกรุงเทพฯ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 นี้ที่งานประชุม 2016 Workplace Pride Conference ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมระดับโลกของ สมาคมอิลก้า (International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association หรือ ILGA) ที่จัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนที่ผ่านมา คนไทยสามารถเข้าถึงแบบสำรวจทั้งสองชุดได้ผ่านทางสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์หรือแล็บท็อป ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะรายงานแก่ธนาคารโลกซึ่งเป็นองค์กรที่ได้พยายามทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และความครอบคลุมทางสังคม รวมถึงความรุนแรงบนฐานเพศภาวะในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
คุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่? หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่ม LGBTI และต้องการเข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ กรุณาเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่: http://wrld.bg/fTxG306qeFL
Join the Conversation